การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิต
หมายถึง
การให้การช่วยเหลือขั้นแรกที่กระทำในทันทีทันใดในสถานที่เกิดเหตุ โดยใช้เครื่องมือเท่าที่จะหาได้
เพื่อลดอันตรายและป้องกันความพิการของผู้บาดเจ็บ ก่อนที่จะส่งผู้บาดเจ็บไปหาแพทย์หรือสถานพยาบาลเพื่อรับการรักษาต่อไป
จุดมุ่งหมายของการปฐมพยาบาล
1. เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในระยะต่อไป
และพยายามช่วยชีวิตไว้
2. เพื่อลดความรุนแรง ภาวะไม่พึงประสงค์
และป้องกันความพิการ
3.
เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
การปฐมพยาบาลที่ดี ผู้ช่วยเหลือควรให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว นุ่มนวลและคำนึงถึงสภาพด้านจิตใจของผู้บาดเจ็บควบคู่ไปด้วย
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีบาดแผลหมายถึง ภาวะซึ่งมีเลือดออกมาจากหลอดเลือด
โดยแบ่งลักษณะของบาดแผลออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.บาดแผลเปิด
เป็นบาดแผลที่มองเห็นได้ว่ามีเลือดออกบริเวณใด
หลอดเลือดแดง เลือดจะพุ่ง สีแดงสด
หลอดเลือดดำ ไหลรินเป็นทาง สีคล้ำ
2. บาดแผลปิด
เป็นภาวการณ์มีเลือดออกภายในร่างกาย โดยเราไม่สามารถมองเห็นได้ แต่มีอาการ เช่น ไอ อาเจียน อุจจาระ
ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
การป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุหลักการป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉิน
1. ป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยหรือเป็นโรค2. ป้องกันมิให้โรคกำเริบ3. หยุดยั้งอาการกำเริบได้ทันที
ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อพบเหตุฉุกเฉิน
1.
เมื่อพบเห็นผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ ให้เรียกผู้ป่วยดูว่ารู้สึกตัวหรือไม่2.
รีบขอความช่วยเหลือจากระบบการแพทย์ฉุกเฉิน3.
ฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของศูนย์แจ้งเหตุและสั่งการ4.
รีบทำการนวดหัวใจทันที (กรณีหัวใจหยุดเต้น)5.
ถ้าพบว่าผู้ป่วยหายใจได้
จัดท่าผู้ป่วยนอนตะแครงหน้าด้านใด ก็ได้ กรณีอุบัติเหตุ
จัดท่านอนหงายราบกับพื้น สังเกตุการหายใจเป็นระยะ6.
กรณีอุบัติเหตุ ดูการไหลเวียนของเลือด มีแผลบริเวณใดบ้าง
7.
ถ้าสามารถประเมินได้ว่า ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวจริงๆ และมีปัญหาเรื่องการหายใจ
ให้ช่วยฟื้นคืนชีพก่อน ค่อยดูบาดแผลหรือกระดูกหัก
การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
คือ
การช่วยชีวิตคนหัวใจหยุดเต้นหรือคนที่หยุดหายใจกะทันหัน
โดยไม่ใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ใช้เพียงแรงกดหน้าอกและการผายปอด
เพื่อให้หัวใจและระบบหายใจกลับมาทำงานอีกครั้ง ซึ่งจะได้ผลดี ต้องทำภายใน 4 นาทีหลังผู้ป่วยหยุดหายใจ
CPR ขั้นพื้นฐาน
หลักปฏิบัติเบื้องต้นปลุกเรียกโดยเขย่าตัวเบาๆและถามดังๆว่า “ คุณเป็นอย่างไรบ้าง”เมื่อพบว่าหมดสติจริงขอความช่วยเหลือ
การปั๊มหัวใจ
คือการใช้ฝ่ามือกดบนผนังทรวงอกบริเวณกระดูกหน้าอก (sternum)โดยใช้น้ำหนักแรงพอประมาณเพื่อทำให้หัวใจถูกบีบเอาเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
การนวดหัวใจ
นั่งคุกเข่าข้างตัวผู้ป่วยระหว่างไหล่และอก
แยกเข่าเล็กน้อยโน้มตัวให้แนวไหล่และวางมืออยู่แนวตั้งฉากกับหน้าอกผู้ป่วยการนับจังหวะการนวดหัวใจสม่ำเสมอ
โดยนับ หนึ่ง และสองและ…......และสิบ และสิบเอ็ด สิบสอง…......สิบห้าในหนึ่งนาที
ให้ได้อัตราชีพจร อย่างน้อย100 ครั้งต่อนาที
รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
1.นางสาวกัญฐิสา หงษ์ทอง ม.6/8 เลขที่2
2.นางสาวกัณฐมณี ทองขัด ม.6/8 เลขที่3
3.นางสาวทิพยาภา กลัดเชยดี ม.6/8 เลขที่
12
4.นางสาวบุญพิทักษ์ รุ่งกาญจนกุล ม.6/8 เลขที่17
4.นางสาวพิชญา นิลวัชราภรณ์ ม.6/8 เลขที่21
5.นายปรเมศร์ เหล่าโรจน์ทวีกุล ม.6/8 เลขที่43
6.นายปิติภัทร เกษวิริยะการ ม.6/8 เลขที่44
7.นายศุภวิชญ์ วานิชสวัสดิ์วิชัย ม.6/8 เลขที่50