วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ชี้มหันตภัยโลกร้อน อีก 35 ปี กทม.จมบาดาล




วันนี้ (21 พ.ค.) ที่ศูนย์ความเป็นเลศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) ดร.วิเชียร กีรตินิจการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และอาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึง "ประเทศไทยกับมหันตภัยโลกร้อน"ว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่อยู่รอบบรรยากาศโลก ส่วนใหญ่ 90 % เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การใช้พลังงาน การเดินทางขนส่ง ป่าไม้และการทำลายป่า อุตสาหกรรม ขยะน้ำเสีย กิจกรรมของมนุษย์ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันเท่ากับ 383 พีพีเอ็มส่วนในอากาศ 1 ล้านส่วน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงพยายามหาหนทางป้องกันไม่ให้อุณภูมิเฉลี่ยของโลกสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เพราะหากเลยจุดนี้ไปแล้ว ความปลอดภัยของมนุษยชาติจะไม่มีหลักประกันอีกต่อไป ซึ่งการป้องกันภาวะโลกร้อนจะต้องไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศเกิน 450 พีพีเอ็ม

"นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกตั้งเป้าหมายให้หยุดอุณภูมิที่สูงขึ้นไว้ที่ 2 องศาเซลเซียส ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งเหลือเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้นโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงอุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียสมีถึง 93 % หากมนุษย์สามารถลดการปลอดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 60 % ในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยมนุษย์ต้องลดใช้พลังงานอย่างเต็มที่ทั่วโลก หากเลยจุด 2 องศาเซลเซียสไปแล้ว มนุษย์ต้องเตรียมรับมือมหันตภัยต่าง ๆ และอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 3 เป็น 4 5 และ 6 หยุดไว้ได้ยาก ผลดังกล่าวจะทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้น มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศมากทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้น"ดร.วิเชียร กล่าว

ดร.วิเชียร กล่าวด้วยว่า ผลจากโลกร้อนขึ้นในปัจจุบันแม้เพียง 0.8 องศาเซลเซียส ก็ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษย์ โดยมีสัญญาณเตือนให้เห็นทั่วโลก เช่น ในอดีตที่ผ่านมาความร้อนทำให้ชาวยุโรปเสียชีวิตกว่า 3 หมื่นคน อินเดียกว่า 1,500 น ปากีสถานมีอุณหภูมิสูงจนทำลายสถิติที่ 52 องศาเซลเซียส ทั่วโลกมีฝนตกมากขึ้น น้ำท่วมรุนแรง มีพายุต่าง ๆ ทั้งเฮอริเคน ไซโคลน ไต้ฝุ่น เช่น เฮอร์ริเคนแคทรินา ที่สหรัฐฯ ไต้ฝุ่นที่จีน และล่าสุดคือไซโคลนนาร์กีสที่พม่า รวมถึงไฟป่าที่มีจำนวนบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นในสหรัฐฯและออสเตรเลีย ธารน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและใต้ รวมทั้งภูเขาน้ำแข็ง ละลายเร็วขึ้น ทำให้เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ทะเลมีโอกาสจมน้ำ ซึ่งรวมถึงกรุงเทพฯ ที่ติดอันดับ 6 ดังนั้นคาดการณ์ว่าประมาณ 25-35 ปีน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ จากที่ผลวิจัยชี้ว่า 48 ปีกรุงเทพฯจะจมน้ำ ดังนั้นไม่ควรซื้อบ้านริมชายหาดอย่างเด็ดขาด ดังนั้นไม่แน่ใจว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าไทยอาจจะเจอพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงก็เป็นได้

ดร.วิเชียร กล่าวอีกว่า ผลจากโลกร้อนทำให้แหล่งน้ำจืดเหือดแห้งเหลือแต่พื้นทราบ อาจจะเกิดการอพยพผู้คนอย่างมหาศาล และการต่อสู้ช่วงชิงน้ำจืด น้ำทะเลมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น ทำให้ปะการังฟอกขาว และอาจตายได้ในที่สุด ปลาและสัตว์น้ำอื่นจะสูญพันธุ์และลดปริมาณลง นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนยังมีผลต่อการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ เช่น ยุงลายที่เป็นพาหะนำไวรัสไข้เลือดออก ปกติจะอาศัยอยู่ในความสูงไม่เกิน 3,300 ฟุต แต่ปัจจุบันพบที่ความสูง 7,200 ฟุตบนยอดเขาแอนดีส ในประเทศโคลัมเบีย และพบเชื้อมาเลเรยนที่ไม่เคยพบมาก่อนในบริเวณพื้นที่สูงของอินโดนีเซีย

"ผมเห็นว่ารัฐบาลควรหันมาให้ความสนใจเรื่องภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง โดยควรเตรียมพร้อมรับมือกับน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่เป็นเหมือนแอ่ง เพราะหากเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ รถไฟฟ้าใต้ดินจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก" ดร.วิเชียร กล่าว


น.ส. กิติยา ลี้จินดา ม.5/8 เลขที่ 5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น