วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นากะ (Naga) กลุ่มชาติพันธุ์ในอินเดียแห่งดินแดนนากะแลนด์



...    แม้จะบอกไปว่านากะแลนด์เป็นดินแดนแห่งความไม่มี ไม่มีปราสาท ราชวังใดๆ 
เทือกเขารึก็ไม่ตระหง่านตาอย่างดินแดนที่อยู่บนเทือกเขาหิมาลัย
แต่ยอดเขาที่สูงที่สุดในนากะแลนด์คือยอด Saramati สูง ๓,๘๔๑ เมตร ถึงจะท้าทายขาลุย แต่ในแง่ความ(ไม่)ปลอดภัย จึงไม่มีใครนิยมปีน

  “นากาเป็นภาษาพม่า แปลว่า คนที่เจาะรูหู” อากุมตอบพลางชี้ไปที่ใบหูของตัวเอง และบอกว่าชาวนากาในอดีตนิยมเจาะรูหู สวมต่างหูกันทุกคน คำว่า “นากา” (naga) นี้มีคนให้นิยามไว้ต่างๆ กันไป บ้างก็ว่ามาจากภาษาสันสกฤต naga(นาค) บ้างก็ว่ามาจากภาษาฮินดี nanga(เปลือย)ฯลฯ ขณะที่ชาวนากาอย่าง "อากุม" และอีกหลายคนที่ผมได้พบเชื่อว่าเป็นคำที่ชาวพม่าใช้เรียกชนผิวเหลืองกลุ่มหนึ่งที่นิยมสวมต่างหูและอพยพหนีความแห้งแล้งหนาวเย็นจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนลงมาอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของพม่าตามลุ่มน้ำอิรวดี และต่อมาได้อพยพมาอยู่แถบเทือกเขาบริเวณชายแดนอินเดีย-พม่าจนถึงปัจจุบัน ขณะที่มีบางส่วนอพยพลงไปถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย เชื่อกันว่าคนกลุ่มนี้คือบรรพบุรุษของชาวนากา นากาเป็นเผ่านักรบ มีชื่อเสียงไม่ต่างจากนักรบของอินเดียนแดง นากาไม่ยอมให้ชนเผ่าใดบุกรุกเข้ามาในดินแดนของพวกเขา ดังนั้นเมื่อจักรวรรดินิยมอังกฤษเข้ามายึดครองอินเดียและพม่าเป็นอาณานิคม และส่งกำลังทหารเข้ามาเพื่อยึดครองดินแดนของพวกนากา จึงถูกต่อต้านอย่างหนักจากบรรดานักรบเผ่าต่างๆ"

            กลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานกึ่งถาวร จะเป็นการพิจารณากลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเทือกเขาในบริเวณตอนเหนือของประเทศพม่า ไทย ลาว เวียดนาม ในส่วนที่เชื่อมโยงกับตอนใต้ของประเทศจีน เนื่องจากชาวเขาเหล่านี้มีการอพยพโยกย้ายบ่อย จากเทือกเขาหนึ่งไปยังอีกเทือกเขาหนึ่ง การพูดถึงชาวเขาในเอเชียอาคเนย์ จึงจำเป็นต้องรวมภาคใต้ของประเทศจีนเช่นเดียวกับทางด้านตะวันตกด้วย การศึกษาถึงชาวเขาและคนพื้นราบของเอเชียอาคเนย์ต้องรวมอัสสัมในอินเดียด้วยเพราะมีกลุ่มที่พูดภาษาไท/ไตอยู่ นอกจากนี้กลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานกึ่งถาวรในเอเชียอาคเนย์ยังรวมถึงกลุ่มคนในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ด้วยเช่นกัน กลุ่มแรกคือ กลุ่มชาวเขาบนแผ่นดินใหญ่ และกลุ่มที่สองคือ กลุ่มชาวเขาบนเกาะ 
            กลุ่มชาติพันธุ์บนแผ่นดินใหญ่  การศึกษาเรื่องชาวเขา มีวิธีการแบ่งกลุ่มชาวเขาได้หลายแบบ เช่น แบ่งตามภาษาพูดและแบ่งตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น  ซึ่งนากะ ก็เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่จัดได้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์บนแผ่นดินใหญ่นี้ด้วย
            นากะ (Naga) กลุ่มชาติพันธุ์บนแผ่นดินใหญ่ในอินเดีย อาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาในประเทศพม่าและรัฐอัสสัมในอินเดีย ซึ่งมีชาวเขาเผ่ากาโร (Garo) ชิน (Chin) และนากะ (Naga) ที่ตั้งแหล่งถิ่นฐานอยู่บริเวณนั้น  มีการพูดภาษาทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman)  มีเชื้อชาติมองโกลอยด์ พวกกาโรตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอัสสัมที่ระดับความสูงประมาณ ๑,๐๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ประชากรมีอาชีพในการทำไร่ ทำสวนเลื่อนลอย เลี้ยงสัตว์ต่างๆ มีการ จับปลา และหาของในป่าเพื่อยังชีพ





‘นากา’ไม่ใช่ชื่อที่พวกเขาเรียกตัวเอง 


แต่เป็นชื่อที่คนอื่นๆ เรียก ทั้งอังกฤษ พม่า จีน แขกต่างเรียกคนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่แถบดินแดนเทือกเขานากา ดินแดนรอยต่อระหว่างจีน พม่าและอินเดีย


ในภาษาไทย บ้างเขียนทับศัพท์เป็น นาคา หรือ นาค ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นมนุษย์เผ่าที่บูชางูหรือบูชาพญานาคไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคนนากาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงูเงี้ยวเขี้ยวตะขอเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นประวัติ ความเชื่อ หรือพิธีกรรม


ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หน้าที่ ๕๗๓ บอกว่า
นาค หรือ นาคา (นาก) น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่บริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค *กินาค.


บางตำราบอกว่า naga มาจาก คำว่า ‘โนค’ อันเป็นภาษาไทอาหมเดิม รากคำมาจากภาษาสันสกฤตว่า ‘นัค’ อันแปลว่า ภูเขา หรือ ดินแดนที่ไม่มีใครเข้าถึง หรือ ดินแดนที่ไม่มีใครเอาชนะได้


บางตำราก็ว่า naga ในภาษาฮินดีหมายถึงโป๊ เปลือย ซึ่งพ้องกับภาษาอังกฤษคำว่า naked ด้วย ตำรานั้นสรุปเสร็จสรรพว่าเป็นเพราะคนนากาแต่งกายด้วยชุดที่เกือบจะโป๊ สมัยก่อนทั้งชายและหญิงของบางเผ่าจะเปลือยท่อนบน และท่อนล่างก็ดูวาบๆ เย็นๆ โชว์ขายาวด้วยผ้านุ่งคล้ายเตี่ยวของไทยเรา


แต่ความหมายที่คนนากายอมรับได้และมีเหตุผลมากที่สุดคือ นากา มาจากภาษาพม่า


คำว่า นา หมายถึง หู
คำว่า กา หมายถึง เจาะรู หรือ ทำให้เป็นรู


คนพม่าเรียกคนเผ่าที่อาศัยบนภูเขานากาด้านตะวันตก อีกฟากฝั่งแม่น้ำชินวิน ว่า คนที่เจาะหูให้เป็นรู ด้วยการแต่งกายและเครื่องประดับประจำเผ่าแทบทุกเผ่ามักจะมีต่างหูใหญ่ที่ทำให้รูเจาะที่ติ่งหูกว้าง




วันที่ ๑-๕ ธันวาคมของทุกปี
ชาวนากาทุกเผ่าต่างมาร่วมร้องรำทำเพลง แต่งกายตามเผ่าตนในงาน Hornbill Festival

            ในเขตประเทศอินเดีย (รัฐอัสสัม) บังกลาเทศ และพม่า พวกชิน กาโร และนากะ มีลักษณะคล้ายคลึงกันหลายอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดูจากที่ราบลุ่มเมืองมณีปุระในรัฐอัสสัม ชินที่อาศัยอยู่บนเขาติดต่อค้าขายกับเมืองมณีปุระ แต่ชินที่อาศัยอยู่บนพื้นราบค้าขายกับพม่า ได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธนิกายหินยานจากพม่า แต่พวกชินมีระบบการมืองการปกครองที่ซับซ้อนกว่าพวกกาโรคล้ายกับคะฉิ่น


น.ส.ณฐพร บัวศรีทอง ม.5/8 เลขที่ 11
น.ส.บุญพิทักษ์ รุ่งกาญจนกุล ม.5/8 เลขที่ 17

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น